#DNAjournal EP.8 #DNAbySPU [Business design as a part of consumer’ lives :: เริ่มที่มนุษย์ จบที่พฤติกรรม] คุณนันทิศา อัครเกษมพร Associate Manager Line@


#DNAjournal EP.8 #DNAbySPU

[Business design as a part of consumer’ lives :: เริ่มที่มนุษย์ จบที่พฤติกรรม] คุณนันทิศา อัครเกษมพร Associate Manager Line@

.

.

เราจะออกแบบธุรกิจของเราให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตลูกค้าเราได้อย่างไร ?

.

.

เมื่อเราพูดถึง “การออกแบบ” หลายๆครั้งความคิดในหัวของเรามักจะเน้นไปที่การเชื่อมโยงแนวความคิดหลายๆอย่างการผสมผสานและลดทอนสิ่งต่างๆ โดยการเพิ่มเติมในส่วนเล็กๆน้อยๆเข้าไว้ด้วยกันและขจัดบางสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป 

.

.

ในฐานะผู้ประกอบการ เรามีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการอันแท้จริงของลูกค้าของเรา เราจึงพยายามออกแบบสินค้าและบริการให้สวยและมีเสน่ห์ขึ้น ปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น แก้ไขในส่วนที่ยากให้ดูน่าใช้มากขึ้น เพื่อหวังว่าลูกค้าของเราจะได้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดจากเรา

.

.

แต่ทำไมหลายๆครั้งเราพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีที่สุด ใช้ง่ายที่สุด สวยที่สุดจนลูกค้าของเราเอ่ยปากชมเชย แต่ลูกค้ากลับไม่สนใจสินค้าและบริการของเราแต่กลับไปใช้จ่ายในธุรกิจคู่แข่ง หลายต่อหลายครั้ง หรือว่าการออกแบบนั้นจะไม่สามารถขับเคลื่อนพฤติกรรมได้ ?

.

.

ถ้าเราย้อนกลับไปศึกษาในปรัชญาของการออกแบบ เราจะพบว่าเราได้มองข้ามบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญไป หลายๆครั้งถ้าพูดถีง “การออกแบบ” เรามักจะมองไปที่ความงดงามและสุนทรียภาพที่จับต้องได้ แต่ถ้าเราใช้เวลาอีกสักหน่อยเพื่อมองให้ลึกลงไปอีกขั้น เราจะมองเห็นในแก่นที่แท้จริงของการออกแบบนั่นคือ “การออกแบบที่คิดถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง” หรือ (Human-centered design)

.

.

หลักสูตร #DNAbySPU ได้รับเกียรติจากคุณนันทิศา อัครเกษมพร Associate Manager ทีม LINE@ บริษัท ไลน์ พลัส คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ที่มาแนะนำวิธีการการออกแบบที่คิดถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลางซึ่งนำไปสู่การขับเคลื่อนพฤติกรรม

.

.

การทำการตลาดในอดีตมักจะพึ่งพาการทำโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ผ่านทางกระบอกเสียงอันใหญ่ที่ถ่ายทอดเสียงของเราให้ไปได้ไกลที่สุดและหวังว่าลูกค้าที่ได้ยินเสียงของเราจะทำตามที่เราบอกและมาใช้บริการธุรกิจของเรา  

.

.

ซึ่งลูกค้าก็ยินยอมรับสารที่เราส่งออกไปแต่โดยดีและทำในสิ่งที่เราปราถนาให้ทำ เพราะในอดีตลูกค้ามักไม่ค่อยมีตัวเลือกมากนัก ผู้ประกอบการอย่างเราจึงเคยชินกับการ “ผลักธุรกิจของเราไปสู่ลูกค้าของเรา 

.

.

แต่ในสมัยนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่เติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้ลูกค้า “หวง” พื้นที่ส่วนตัวมากขึ้นและไม่ต้องการโดน “ขัดจังหวะ” ลูกค้าพยายามปิดกั้นเสียงที่เราส่งไปเพื่อแทรกบทสนทนาของเขา ลูกค้าปฎิเสธในข้อความที่เราส่งออกไป เราจึงไม่สามารถทำอย่างเก่าได้

.

.

ดังนั้นเราควรจะเปลี่ยนวิธีคิดของเรา เราควรยกเลิกระบบที่เรียกว่าการ “ผลัก” และควรส่งเสริมการ “ดึง” ขึ้นมาแทนที่ 

.

.

เราต้องดึงลูกค้าให้เข้ามามีส่วนร่วมกับธุรกิจของเรา ด้วยการวางผู้ใช้ไว้ศูนย์กลาง แล้วจึงสร้างโอกาสที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนพฤติกรรม โดยการปลุกเร้าลูกค้าให้ต้องการสินค้าของเราในห้วงเวลาที่กำลังจะจ่ายเงินให้ธุรกิจคู่แข่ง กระตุ้นลูกค้าในช่วงเวลาที่ลูกค้าควรได้รับการถูกกระตุ้น 

.

.

โดยแท้จริงไม่ได้นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและร่ำรวยไม่ได้ออกแบบสินค้าและบริการของเขาอย่างดีเยี่ยมเท่านั้น แต่เขาเหล่านั้นได้ออกแบบสิ่งที่กระตุ้นพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อรองรับสินค้าของเขาด้วย

.

.

โทมัส อัลวา เอดิสัน คือชายที่ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าขึ้นสำเร็จเป็นคนแรกในโลก แต่สำหรับตัว เอดิสันเองแล้ว เขากลับไม่ได้พึงพอใจกับความสำเร็จตรงหน้าเท่าไหร่นัก เพราะสิงประดิษฐ์ที่นี้ถ้าขาดอุปกรณ์ที่ให้กำเนิดและส่งผ่านกระแสไฟฟ้าที่ใช้กันแพร่หลาย “หลอดไฟดวงแรกของโลก” จะเป็นได้แค่ผลิตภัณท์ต้นแบบที่เอาไป จัดแสดงตามงานแสดงเทคโนโลยีเท่านั้นหรือที่เราเรียกกันว่า “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” 

.

.

ดังนั้นงานของเอดิสันจึงยังไม่จบ สิ่งที่เขาต้องทำต่อคือ การนำสินค้าเข้าสู่ตลาดหรือ“นำงานวิจัยขึ้นหิ้งไปสู่ห้าง” และในหนึ่งปีหลังจากนั้นเขาได้จดทะเบียนสิทธิบัตรระบบจัดส่งไฟฟ้า (Electric Distribution System) เพื่อทำหน้าที่ผลิต จัดส่งและขายกระแสไฟฟ้าไปสู่ทุกครัวเรือนในนิวยอร์ก จึงทำให้หลอดไฟของเขาถูกใช้อย่างแพร่หลาย ด้วยวิธีคิดของเขาทำให้ และมีชื่ออยู่เหนือกาลเวลา โดยกลายเป็นสัญลักษณ์ในการคิดค้นนวัตกรรมของนวัตกรทั่วโลก

.

.

เพราะเอดิสันมองว่าสินค้าของเขาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติได้ การที่จะทำให้สินค้าของเขาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตลูกค้า เขาต้องสร้างโอกาสในการใช้งานเสียก่อน 

.

.

ดังนั้นผู้ประกอบที่ดีนั้น นอกเหนือจากจะให้ความสำคัญกับสินค้าแล้ว ควรจะให้ความสำคัญกับการออกแบบโอกาสในการใช้งานด้วย ซึ่งวิธีการในการหาโอกาสนั้นไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน แต่กลับตรงไปตรงมาและง่ายแสนง่ายกว่าที่ราคิด เพียงแค่ดึงให้ผู้ใข้เป็น “ศุนย์กลาง” แล้วจึงเชื่อมโยงกับโอกาสในการใช้สินค้าของเราด้วยเครื่องมือที่เรามีเพื่อให้สินค้าของเราเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตลูกค้า

.

.

ดั่งคำพูดของกาลิเลโอ กาลิเลอิ นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวไว้ว่า All truths are easy to understand once they are discovered; the point is to discover them. ความจริงในเรื่องต่างๆง่ายที่จะเข้าใจเมื่อมีการค้นพบแล้ว ประเด็นคือ เราต้องค้นหามันให้เจอ

.

.

อ้างอิง : https://en.wikipedia.org/wiki/Thomas_Edison

.

.

หมายเหตุ :

1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU

2. ข้อมูล EP.8 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณนันทิศา อัครเกษมพร Associate Manager ทีม LINE@ บริษัท ไลน์ พลัส คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ที่มาแนะนำวิธีการการออกแบบที่คิดถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลางซึ่งนำไปสู่การขับเคลื่อนพฤติกรรม #Speaker #DNAbySPU 25 March 2017

.

.

จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU

www.DNAbySPU.com

ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *