#ส่งการบ้านให้ลูกศิษย์ #iczzLecturer
เพิ่งอ่านหนังสือ ชื่อ TIY Think It Yourself : A Creative Toolbook เขียนโดย อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล เล่มนี้จบ เมื่อกี้
เลยพิมพ์สรุปประเด็นที่น่าสนใจ ส่งการบ้านให้ทุกคนอ่าน
🙂
TIY : Think It Yourself
A Creative Toolbook อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล
– ความคิดในความหมายของผม มิใช่เพียง “ประกายไฟ” ที่วิ่งเข้ามาในสมองเท่านั้น แต่คือกระบวนการที่ผ่านการกระตุ้นจากสิ่งเร้า การค้นหาข้อมูล การรวบรวมคัดสรรสิ่งที่ใช่หรือไม่ใช่ จนเกิดเป็นข้อสรุป และ ณ ที่นั้นเอง ความคิดจึงกลายเป็นความรู้ ซึ่งยิ่งเราฝึกกระบวนการคิดเช่นนี้เรื่อยๆ มากเท่าไหร่ ก็เท่ากับเรากำลังฝึกประสบการณ์ที่จะแปรความคิดไปสู่ความรู้มากขึ้นเท่านั้น และเมื่อคนในสังคมฝึกฝนกระบวนการคิดนี้จนเกิดเป็นความเคยชิน สังคมก็จะเติบโตบนฐานของความรู้ มิใช่เพียงความเชื่อ ความกลัว หรือความลุ่มหลงใดๆ
– ความคิด อาจจะเป็นอาวุธที่แหลมคม หรือเป็นเครื่องจรรโลงใจให้เข้มแข็ง อาจต้องลองสรรหาประสบการณ์เอาจากหนังสือเล่มนี้ เพราะท้ายที่สุดแล้ว เราแต่ละคนล้วนมีรูปแบบความคิดที่กลั่นกรองจากประสบการณ์ของตนเองทั้งสิ้น เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทำให้เราพิเศษและแตกต่างจากคนอื่นนั่นเอง
– ก่อนที่ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี จะได้คิดค้นและเริ่มนำสังคมโลกเข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ตด้วยเครือข่าย “เวิลด์ ไวด์ เว็บ” นั้น ครึ่งศตวรรษก่อนหน้า แวนเนอวาร์ บุช นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจากเอ็มไอที ได้ตีพิมพ์บทความชื่อ “As We May Think” ในปี 1945 ที่แสดงถึงวิสัยทัศน์ของเขาและการทำนายเกี่ยวกับโลกยุคดิจิทัล โดยได้อธิบายถึงปัญหาของข่าวสารที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็นความมากเกินไป ก่อนจะสรุปใจความสำคัญที่มุ่งสู่คำถามที่ว่า แล้วสมองของคนเราทำงานอย่างไรเมื่อถึงภาวะเช่นนั้น
– คำตอบก็คือ จิตใจของสมองของมนุษย์ไม่ได้ทำงานแบบเส้นตรง แต่เป็นการทำงานแบบร่วมมือ เพราะเมื่อเราเริ่มต้นคิดถึงเป้าหมาย มนุษย์จะปะติดปะต่อเรื่องราวจากสิ่งแวดล้อมโดยรวมทุกสิ่งที่เคยจดจำหรือมีความรู้เข้ามา นั่นหมายถึงสมองมีรูปแบบการทำงานแบบเครือข่าย
– หากจะหาภาพกราฟิกที่ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์สากล บอกความหมายอย่างไร้พรมแดนทางภาษาสักภาพหนึ่ง คงหนีไม่พ้น Pictogram รูป “ชาย/หญิง” หน้าห้องน้ำที่เราพบเห็นและเข้าใจได้แทบจะทุกที่ในโลก แต่มิใช่ว่าสัญลักษณ์เหล่านี้จู่ๆ เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ทว่า มันได้ผ่านการค้นคว้าหรือวิจัยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดสัญลักษณ์ที่ง่ายแก่การเข้าใจนี้ ได้แก่ Otto Neurath
– สำหรับหญิงสาวในยุคนั้นแล้วนับเป็นเรื่องลำบากใจ แต่การมีป้ายแสดงราคาสินค้านั้นกลับเป็นการมอบสิทธิในการตัดสินใจให้แก่ผู้หญิง ว่าเงินในจำนวนที่เธอมีนั้น พวกเธอจะสามารถสู้ราคาได้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังให้โอกาสลูกค้าผู้หญิงสามารถทดลองสวมใส่สินค้าก่อนได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มความประทับใจแก่ลูกค้าเป็นอย่างยิ่ง
– ปัจจุบัน เส้นทางการเดินสู่โอกาสทางธุรกิจนั้นสะดวกสบายและกว้างขวางกว่ามาก ทั้งความรู้ เทคโนโลยี และโมเดลธุรกิจใหม่ๆ แต่ทั้งหมดนี้ จะเป็นแค่ผิวของความสำเร็จเท่านั้น หากแก่นแท้ของการสร้างสรรค์ธุรกิจไม่ได้เริ่มจากมุมมองที่เข้าถึงจิตใจของลูกค้าอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ไม่อาจลอกเลียนหรือบอกต่อกันได้
– การถักทอแนวคิดอนุรักษ์เข้ากับเส้นสายของนักปฏิบัติหัวก้าวหน้า กลายเป็นส่วนผสมที่ช่วยขยายฐานความรู้ของช่วงฝีมือให้เติบโตในโลกยุคใหม่ และเป็นฟันเฟืองของโลกธุรกิจที่กำลังหายใจอยู่ หวังเพียงว่าความมั่งคั่งครั้งใหม่นี้ จะอยู่บนฐานของความมั่นคง อันเกิดจากความรู้จริงและคุณภาพจริง ไม่ใช่แค่กระแสที่จางไปหลังความนิยมเสื่อมมนต์ลงเท่านั้น
– ถ้าจะต้องเลือกสรรของขวัญสักชิ้นในเทศกาลแห่งความสุข หน้าตาควรจะเป็นอย่างไร จะต้องมากด้วยประโยชน์ใช้สอย สร้างคุณค่าทางจิตใจ หรือทดแทนสิ่งที่ขาดหาย
– เมื่อชีวิตต้องดำเนินต่อไปโดยไม่อาจให้ความสิ้นหวังมาบดบังความสามารถใดๆ ของมนุษย์ การลุกขึ้นเพื่อเริ่มต้นใหม่จึงเป็นเรื่องน่าชื่นชม นอกเหนือจากพลังความคิดและแรงขับเคลื่อนจากภายในตัวเองแล้ว รากฐานที่หนักแน่นด้วยความรู้ที่มาจากการรู้จักเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม ความเข้าใจต่อแนวโน้มที่เป็นไปของโลก จะทำให้การลุกขึ้นยืนและก้าวต่อไปนั้นแข็งแกร่ง พร้อมกันนั้นมันยังอาจเป็นโช๊คอัพรองรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย
– ในประเทศไทย ตลาดสินค้าลิขสิทธิ์การ์ตูนมีมูลค่าราว 2-3 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าใกล้เคียงกับตลาดสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
– หนังสือพิมพ์ Financial Times (4 March 2012) รายงานสถิติยอดดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นในแอพสโตร์ (App Store) ของแอปเปิลที่พุ่งทะลุ 2.5 หมื่นล้านครั้ง โดยปัจจุบันมีจำนวนแอพพลิเคชั่นเพิ่มขึ้นเป็น 550,000 แอพฯ จากเพียง 800 แอพฯ ในปีแรก โดยฝีมือนักพัฒนา 248,000 คน ที่สร้างสรรค์ขึ้นสำหรับ I-Phone, I-Pod Touch และ I-Pad ที่จำหน่ายออกไปแล้ว 315 ล้านเครื่องทั่วโลก
– แต่ทางเลือกสำหรับอนาคตที่ดีที่สุดแล้ว … พวกเขาต้องเป็นคนกำหนดเอง
– เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทวิจัยทางการตลาดรายใหญ่ ไอบิสเวิลด์ (Ibis World) เสนอรายงานตัวเลขการเติบโตของธุรกิจสาขาต่างๆ ทั่วโลก ที่น่าสนใจคือ ในรอบ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2008-2013 ซึ่งเป็นช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจอับแสงนั้น ธุรกิจบางประเภทกลับยังมีผลกำไรในแดนบวก แม้จะไม่หวือหวาแต่ก็ถือว่าพ้นหายนะ หนึ่งในนั้นคือธุรกิจด้านออกกำลังกายและศูนย์สุขภาพ ซึ่งมีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 1.4 ต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่า 25.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าในปี 2013 จะมีอัตราเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.5
– แน่นอนว่า วิกฤตเศรษฐกิจสุดโหดระหว่างปี 2008-2009 ได้กระชากธุรกิจสุขภาพขนาดใหญ่ล้มไม่เป็นท่า ส่วนหนึ่งมาจากการที่ลูกค้าหันมาตัดรายจ่ายค่าสมาชิกรายปีเพราะถือเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย แต่วิกฤตครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดทางเลือกใหม่ของธุรกิจด้านสุขภาพทั่วโลก ซึ่งปรับตัวจากฟิตเนสขนาดใหญ่มาสู่บริการขนาดเล็ก ที่มีคุณภาพและตอบโจทย์เฉพาะกลุ่ม ด้วยการนำเสนอรูปแบบใหม่ของการออกกำลังกายซึ่งได้รับความนิยมอย่างท้วมท้น โดยเฉาพะในกลุ่มลูกค้าหลักที่เต็มใจจ่ายอย่างกลุ่ม Baby Boomer และหญิงสาววัยทำงานเช่นเดียวกับการปรับพฤติกรรมการออกกำลังกายไปสู่กิจกรรมกลางแจ้งในพื้นที่สีเขียวและอากาศยามเช้าที่กลายเป็นกิจวัตรต้นทุนต่ำของผู้คนในเมืองใหญ่ทั่วโลก
– แต่ความนิยมต่อการเสริมสร้างสุขภาพไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตของธุรกิจด้านการออกกำลังกายและศูนย์สุขภาพเท่านั้น เพราะค่านิยมในการดูแลสุขภาพได้ก้าวข้ามจากมิติด้านความแข็งแรงและจากเรื่องการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ มาสู่มิติทางด้านการเติมเต็มอารมณ์ นั่นคือ ความงาม การแสดงออกซึ่งสถานะและการเข้าสังคม อันจะเห็นได้จากธุรกิจแฟชั่นกับการกีฬา ที่ห้องเสื้อชั้นนำอย่างจุนยะ วาตานาเบ นำเสนอเสื้อผ้าสำหรับการวิ่งมาราธอน เช่นเดียวกับ Emilio Pucci และ Prada กับกางเกงวิ่งและถุงเท้า นักฟุตบอลที่มีเนื้อผ้าระบายเหงื่อได้ดี แม้กระทั่ง Gucci ก็นำเสนอชุดทำงานที่สามารถปรับให้กลายเป็นชุดกีฬาได้ในช่วงเย็นของวัน
– ปัจจุบันจึงเกิดแคมเปญ Eco-city Project โดยวาเซีย มาร์คีเดส ศิลปินชาวนิวยอร์ก ที่เชิญชวนให้ผู้คนได้กลับมาดูความงามของเวโรชาอีกครั้ง และแนวคิดเล็กๆ นี้ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งรัฐบาลไซปรัสและตุรกี รวมถึงคนกลางอย่างสหประชาชาติด้วย
– ความเยาว์วัยอาจไม่ใช่เครื่องการันตีความคิดสร้างสรรค์ที่สดใหม่ ขณะที่ความอาวุโสก็ไม่ได้ยืนยันความถูกต้อง แต่สังคมนั้นไม่อาจละเลยการผสมผสานอย่างกลมกลืน
– สิ่งที่ต้องตระหนักก็คือ ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัยไหน เราได้สร้างคุณค่าให้กับตัวเองหรือสังคมมากพอแล้วหรือยัง
– นับเป็นเรื่องง่ายดายกว่ามาก ถ้าการผลิตสินค้าหรือบริการสักอย่าง จะเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในวันนี้ แต่เรื่องราวกลับต่างไปสิ้นเชิง หากจำเป็นต้องคิดและสร้างสินค้าสำหรับวันพรุ่งนี้ และยิ่งเป็นเรื่องยากขึ้นไปอีก เมื่อการสร้างสินค้าหรือบริการของวันพรุ่งนี้ต้องเป็นไปเพื่อรองรับชีวิตประจำวันของผู้คนจำนวนมาก เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เมื่อเรานั่งอยู่บ้าน เปิดเว็บไซต์เพื่อสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ต่อจากนั้นก็รอเวลาที่พัสดุจะถูกนำมาส่งที่หน้าบ้าน เพื่อว่าเราจะได้เปิดกล่องและชื่นชมกับของที่อยากได้ ขั้นตอนง่ายๆ เช่นนี้ ล้วนผ่านการไตร่ตรองอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างประสิทธิภาพของงานบริการ ที่ทั้งสะดวกสบายสอดคล้องกับวิถีชีวิตยุคใหม่ ง่ายต่อการตัดสินใจและย่นระยะเวลาในการทำธุรกรรม พร้อมๆ กันนั้นยังต้องสร้างความประทับใจ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ตลอดจนเพิ่มระดับคุณภาพด้านรายได้ของธุรกิจด้วย
– บรรจุภัณฑ์ที่นำมาส่งถึงลูกค้าก็ยังผ่านการคิดค้นมาเป็นอย่างดีในรูปแบบของกล่องกระดาษขนาดกะทัดรัด ใช้งานง่าย ไม่ต้องตัดแปะกระดาษกาวให้ยุ่งยากจนเป็นที่ถูกใจของลูกค้าเป็นอย่างมาก
– การออกแบบบริการ (Service Design) เพื่อเป้าหมายในการสร้าง “คุณภาพของการบริการ”
– ประตูของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งอัมสเตอร์ดัมหรือ ไรค์มิวเซียม (Rijksmuseum) เปิดขึ้นอย่างสง่าผ่าเผยอีกครั้งเมื่อเมษายนปี 2013 ที่ผ่านมา หลังจากมีโครงการปรับปรุงอย่างยาวนานกว่า 10 ปี แต่สิ่งที่เป็นปรากฎการณ์ใหม่ซึ่งน่าตื่นตาตื่นใจไปกว่าสถาปัตยกรรมและคอลเล็กชั่นศิลปะ ก็คือการเปิดตัว “ไรค์ สตูดิโอ (Rijks Studio)” อันเป็นคลังผลงานศิลปะในรูปแบบดิจิทัล 125,000 ชิ้น
– ทุกสิ้นปีการศึกษา ที่สถาบันสอนการออกแบบอุตสาหกรรม อองซี-เลส์ อาเทลเลียร์ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงปารีส จะได้ต้อนรับแขกคนสำคัญอย่างแอปเปิล บริษัทสัญชาติอเมริกันผู้สร้างประวัติศาสตร์ให้กับวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ แอปเปิลจะส่งแมวมองมาเยี่ยมชมผลงานของนักศึกษาเพื่อเฟ้นหาเลือดใหม่เข้าร่วมงาน โดยนักศึกษาที่แอปเปิลมองหานั้น ต้องไม่ใช่ผู้ที่มีแค่มุมมองด้านการออกแบบที่โดดเด่น แต่จะต้องมีวิสัยทัศน์ต่อการใช้ชีวิตของผู้คน เทคโนโลยีชีวภาพ กระทั่งทักษะช่างฝีมือ
– แต่ในวันนี้ ระบบการอุปโภคบริโภคและระบบการผลิตของโลกได้เดินทางมาถึงจุดที่แวดวงนักเศรษฐศาสตร์ นักอุตสาหกรรม หรือแม้แต่นักการตลาดตระหนักกันดีแล้วว่า อนาคตไม่ได้เป็นอย่างที่มักถูกพรรณนาเอาไว้
– ในปัจจุบัน เมืองชั้นนำในโลกต่างให้คุณค่ากับการสร้างสรรค์พื้นที่ในเมืองอย่างเต็มที่
– มนุษย์มีความชาญฉลาดที่จะหล่อเลี้ยงความหวังเอาไว้ใช้ในยามขาดแคลนเสมอ ทั้งความหวังเพื่อชีวิตที่ดีกว่าหรือความหวังที่อาจไม่มีอยู่จริง ในรูปแบบของจินตนาการ และยังชาญฉลาดต่อไปด้วยการสร้างองค์ประกอบรอบๆ ตัวเพื่อถ่ายเทจินตนาการสู่ชีวิตจริง
หมายเหตุ
เนื่องจากเนื่องหาน่าสนใจ จึงอยากให้ทุกท่านมีโอกาสได้อ่าน ผู้พิมพ์ไม่มีวัตถุประสงค์อื่นๆ นอกจากการกระตุ้นสังคมให้เห็นความสำคัญในการปรับตัว เพื่อความชัดเจนของเนื้อหา แนะนำให้ซื้อมาอ่านครับ
ขอบพระคุณ ข้อมูลจากหนังสือ TIY : Think It Yourself // A Creative Toolbook โดย อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล เป็นอย่างสูง
Tirasan iczz Sahatsapas
ติดตาม ความรู้ที่น่าสนใจต่างๆ
ได้ที่ Line Official :: @iczzLecturer
http://line.me/ti/p/%40iczzlecturer
หรือ www.iczzz.com