รับรู้เพื่อเรียนรู้
.
.
สรุปเนื้อหาการดูงาน จากการเข้ารับฟังบรรยายอาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ วัดร่องขุน จ.เชียงราย
วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560
หลักสูตรการบริหารการท่องเที่ยวสำหรับผู้บริหารระดับสูง (กทส.) #TME1
.
.
มนุษย์มีความสามารถอย่างมากมายในการผลิต “สินค้า”
.
.
เริ่มตั้งแต่ยุคปฎิวัติอุตสาหกรรมที่เครื่องจักรมีบทบาทมากกว่ามนุษย์ในการผลิตสินค้า เราสามารถร่ำรวย มีชื่อเสียงและเป็นที่นับหนาถือตาได้ ถ้าเรามีโรงงานที่ใหญ่และมีประสิทธิภาพพอ เราจึงหลอมรวมนวัตกรรม เทคโนโลยี และมันสมองของมนุษย์เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อผลิต “สินค้า” ออกมา
.
.
และเมื่อสิ่งนี้แพร่หลายออกไปเรื่อยๆในวงที่กว้างขึ้น ทำให้โลกใบนี้มีสินค้าหลากหลายรูปแบบ พร้อมที่จะตอบสนองความต้องการของเราตั้งแต่โอกาสที่เราเกิดจนถึงในเวลาที่เราต้องจากไป
.
.
อย่างไรก็ตามเราไม่ได้ถูกสร้างให้สมบูรณ์แบบ เราจึงมีมีส่วนที่บกพร่อง ที่แย่ไปกว่านั้นคือส่วนที่เราบกพร่องที่สุดกลับเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดนั่นคือ “การตลาด”
.
.
การตลาดคือการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าของเรา แล้วส่งต่อสิ่งทีมีค่าของเราไปสู่ผู้อื่นโดยการสื่อสารไอเดียของเราไปยังกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ในการดำรงอยู่ของเราและสร้างมูลค่าในใจกลุ่มเป้าหมาย
.
.
เมื่อเรามีสินค้าที่มากแต่ความต้องการของคนมีจำกัด เราจึงเริ่มมีแนวคิดในการ “ผลักสินค้า” โดยการสร้างกระบอกเสียงอันใหญ่และใช้วิธีจูงใจที่เรียกว่าการโฆษณาเพื่อสื่อสารข้อดีของสินค้าเราไปที่ลูกค้าของเรา
.
.
ในการออกแบบแผนการสือสารการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ขั้นแรกที่ต้องทำอย่างปราณีตที่สุดคือการทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย เราศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจว่าอะไรคือแรงผลักดันของเขา มีความสนใจแบบไหน รสนิยมของเขาเป็นอย่างไร ? ฟังดูเหมือนง่ายแต่เป็นโจทย์ที่โหดหินมาก
.
.
แต่ถ้าเราเจอโจทย์ที่ยากขึ้นไปอีกขั้นล่ะ ? ถ้าเรามีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนต่างชาติ ต่างภาษา และต่างวัฒนธรรมล่ะ ? เราจะลึกซึ้งไปถึงวิธีคิดของพวกเขาได้อย่างไร ?
.
.
และถ้าชาวต่างประเทศที่ว่าคือชาวยุโรป ชาวสิงคโปร์ และชาวญี่ปุ่นที่มีสุนทรียภาพระดับสากลที่เหนือกว่าเรา และนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่มากกว่าเรา เราจะทำอย่างไร ? หรือเราจะต้องลงทุนทำวิจัยด้วยงบประมาณมหาศาล และมีบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก มีกองเอกสารเป็นภูเขา แต่ถ้าเราไม่มีทรัพยากรมากขนาดนั้นล่ะ ?
.
.
อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ศิลปินแห่งชาติ และผู้สร้างวัดร่องขุ่น ได้ให้คำแนะนำแก่เราถึงวิธีการที่ทรงประสิทธิภาพว่า วิธีการนั้นง่ายนิดเดียว ลงทุนเพียงแค่หยิบมือเท่านั้น แต่ต้องอาศัยเวลาและความพยายามนิดหน่อย
.
.
นั่นคือการศึกษา “ปรัชญา”ของชาวต่างชาติอย่างละเอียด ไม่ได้ศึกษาเพียงแค่ระดับ “รับรู้”เท่านั้น แต่ต้องต่อยอดไปสู่ระดับที่สูงกว่า คือระดับของ “ความเข้าใจ”
.
.
อาจารย์เฉลิมชัยได้ทำการศึกษา “ปรัชญาตะวันตก” และ “ปรัชญาตะวันออก” และได้ถ่ายทอดมาเป็นส่วนต่างๆของวัดร่องขุ่น
.
.
วัดร่องขุ่นได้แรงบันดาลใจในการออกแบบจากปรัชญาที่ซ่อนเร้นอยู่ของลัทธิเต๋า โดยออกแบบให้เป็นวัด “สีขาว” ซึ่งเป็นสีที่ชาวจีนเชื่อว่าผูกพันธ์กัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่นนางพญางูขาว นักบวชคิ้วขาว เจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น จึงปลุกเร้าชาวจีนได้ว่า ที่วัดร่องขุ่นคือ “สวรรค์บนดิน”
.
.
“ถ้าความงดงามและสุนทรียภาพตั้งอยู่ที่ไหน การเดินทางจะไม่ใช่อุปสรรคสำหรับคนที่แสวงหา พวกเขาจะยอมทนทุกทรมานเพื่อเข้าไป ดื่นกินความงดงามและสุนทรียภาพจากสิ่งนั้น” ดังนั้นธรรมชาติที่สวยงาม การเดินทางที่แสนสะดวกสบาย จึงไม่ใช่ปัญหาในการดึงดูดคนที่มีสุนทรียภาพระดับสากลมาที่วัดร่องขุ่น
.
.
เมื่อ “สินค้า” ไม่มีปัญหาแล้วสิ่งที่ต้องทำต่อมาคือการสร้าง “แบรนด์” หรือการสร้างความศรัทธา ความศรัทธาที่จะสร้างมูลค่าให้กับตัวผู้สร้าง ความศรัทธาที่ดึงดูดผู้ที่มีสุนทรียภาพระดับสากลมาหาอาจารย์เฉลิมชัย
.
.
ดังนั้นในขั้นตอนแรกการผลักแนวคิดของอาจารย์เฉลิมชัยออกไปสู่วงกว้าง แนวคิดที่กระชับแต่ทรงพลังนั่นคือ “เกิดที่นี่ สร้างที่นี่ และตายที่นี่” ผ่านทางการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
.
.
ขั้นตอนต่อมาคือสร้างความประหลาดใจ ความประหลาดใจที่วัดร่องขุ่นงดงามและสง่าผ่าเผยเพราะไม่ได้อยู่ใต้ปีกใคร ทั้งหมดสร้างด้วยทุนส่วนตัวของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เพียงอย่างเดียว และคนเดียวเท่านั้น ไม่รับเงินบริจาคจากใคร ด้วยเงิน 800 ล้านบาท
.
.
ขั้นตอนสุดท้ายคือการสื่อสารว่าตัวอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มีความเชี่ยวชาญในศิลปะทั้ง 3 รูปแบบนั่นคือ ปฎิมากรรม สถาปัตยกรรม และจิตรกรรม ความงดงามของศิลปะแต่ละประเภทนั้นได้ถูกรวมไว้ที่วัดร่องขุ่นในที่เดียว ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ Michelangelo ศิลปินที่ฉลาดที่สุดในโลกและเสียชีวิตไปแล้ว
.
.
ด้วยแนวคิดเชิงบวกและกลยุทธ์ที่ยอดเยี่ยมที่ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ใช้ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย นั่นคือการสร้างวัดร่องขุ่น หรือ White Temple ให้เป็นดัง “ทัชมาฮาล” ที่นักเดินทางจากทั่วโลกต้องมาชื่นชมก่อนตายนั้น โดยแท้จริงแล้วเกิดมาจากส่วนประกอบเล็กๆ ที่มีแค่สองสิ่ง และถึงแม้เราจะไม่มีมันสมองที่ยอดเยี่ยม แต่ก็มีสองสิ่งนี้ได้ สิ่งแรกนั่นคือความเข้าใจในแง่มุมต่างเช่นวิธีคิด ปรัชญา วัฒนธรรม รวมถึงการสร้างแบรนด์และการตลาด สิ่งที่สองคือการทุ่มเทอย่างหนักในงานศิลปะ รวมถึงการบริหารจัดการในการแก้ปัญหาต่างๆ
.
.
ถ้าเรามีสองสิ่งนี้ การประสบความสำเร็จที่เราต้องการนั้น ถึงแม้ว่าจะได้มายากแต่ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้
.
“หากเราต้องการสิ่งใด เราต้องเหนื่อยกว่าผู้อื่น”
.
.