#DNAjournal EP.5 #DNAbySPU [Make product photography as if a communication tool. ให้การภาพถ่ายสินค้าเปรียบเสมือน เครื่องมือการสื่อสาร]

golfsirapop photo


#DNAjournal EP.5 #DNAbySPU

[Make product photography as if a communication tool. ให้การภาพถ่ายสินค้าเปรียบเสมือน เครื่องมือการสื่อสาร]

.

.

Make product photography as if a communication tool.

ให้การถ่ายภาพสินค้าเปรียบเสมือนเครื่องมือการสื่อสาร

.

.

Erik Johansson ช่างภาพและนักตกแต่งภาพระดับโลกชาวสวีเดน กล่าวถึงแนวคิดการถ่ายรูปว่า “เพราะเราต้องการบันทึกไอเดีย ไม่ใช่เพียงแค่ช่วงจังหวะเวลา (It’s more about capturing an idea than about capturing a moment really) ดังนั้นก่อนกดชัตเตอร์เพื่อสร้างภาพถ่ายที่สวยงามเราต้องทำอะไรบ้าง ?

.

.

หลักสูตร #DNAbySPU ได้เชิญคุณกอล์ฟ สิรภพ วรรณทอง #GolfSirapopPhoto มาแชร์เคล็ดลับในหัวข้อ “การถ่ายสินค้าให้สวยงามด้วยสมาร์ทโฟน” เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และลงมือถ่ายภาพสินค้าของตนเองในขณะเรียน ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

.

.

แน่นอน… ต้องอาศัยเทคนิคนิดหน่อยเพื่อให้ภาพที่ได้ออกมาดูดีที่สุด เช่น การโฟกัส มุมกล้อง การจัดองค์ประกอบภาพ ทิศทางแสง และสิ่งที่ห้ามลืมเด็ดขาด คือ กฎสามส่วน (Rule of third) ซึ่งถูกค้นพบโดย ปีทาโกรัส (Pythagoras) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่อ้างอิงจากทฤษฎีระบบสัดส่วนที่ดีที่สุดในการมองเห็นและระบบประสาทสัมผัสของมนุษย์

.

.

จริงอยู่ ถ้าขาดสิ่งเหล่านั้น ภาพที่ออกมาคงจะดูไม่ดีซักเท่าไหร่ ไม่มีพลัง และคงไม่ได้สร้างความน่าสนใจ แต่สิ่งเหล่านั้นคือส่วนประกอบของภาพและมีบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญกว่านั้น

.

.

นั่นคือ “การวางแผน” เบื้องหลังของภาพถ่ายชั้นดีมากมาย ขั้นตอนจะไปอยู่ที่การวางแผนเสียมากกว่า การวางแผนจะช่วยจัดระบบความคิดของเราให้มีความชัดเจน และจะคอยกลั่นกรองว่าเราจะถ่ายทอด “การเล่าเรื่องด้วยภาพ” (Visual narrative) ออกมาทางภาพได้อย่างไร ?

.

.

“เพราะภาพที่ดีสะท้อนถึงการวางแผนอย่างดี” เราควรเริ่มต้นที่การออกแบบสิ่งที่เราอยากจะบอก ร่างไอเดีย จัดองค์ประกอบให้ลงตัว เพิ่มความน่าสนใจโดยการเติมพร็อพ รวมสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกันแล้วจึงจบขั้นตอนด้วยการกดชัตเตอร์

.

.

สำหรับการถ่ายรูปสินค้า นอกจากจะต้องมีการวางแผนที่ดีเยี่ยมแล้ว เรายังต้องผสมสูตรเด็ดลงไปด้วย นั่นคือ วิธีคิด รสนิยม คุณสมบัติและราคา ใส่ลงไปในแต่ละส่วนของรูปภาพ ก่อนที่เราจะกดชัตเตอร์แต่ละครั้ง

.

.

เพื่อออกแบบให้ภาพถ่ายสินค้าของเรา เป็นเสมือนลายเซ็นที่จะสร้างภาพจำ เมื่อลูกค้าได้เห็นภาพถ่ายในรูปแบบนี้บ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เห็นจนชินตา ภาพนั้นจะกลายเป็น สัญลักษณ์ และนำไปสู่ภาพถ่ายในรูปแบบที่ค่อนข้างคล้ายหรือแตกต่าง

.

.

แต่ที่น่าเสียดายคือเราหลายๆ คนไม่ได้ใส่ใจในภาพถ่ายเท่าที่ควร โดยเฉพาะภาพถ่ายที่จะนำไปใช้เป็นสื่อโฆษณาใน Social media ซึ่งเป็นเหมือนไม้ประดับและไม่จำเป็นที่จะมีความสวยงามมากนัก อาจเป็นเพราะธรรมชาติของ Social media ที่หลังจากนั้นไม่กี่วัน ภาพนั้นจะมีสถานะ “หมดอายุ” ไปแล้ว

.

.

12 มกราคม 2007 ในเช้าวันทำงานที่ทุกคนเร่งรีบเดินทาง มีชายคนหนึ่งวางสัมภาระลงและเริ่มสีไวโอลิน ที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน L”Enfant Plaza ที่เมืองวอชิงตัน ดีซี เป็นเวลา 45 นาที

.

.

สามนาทีแรกผ่านไป มีชายวัยกลางคนสังเกตเห็นนักไวโอลิน เขาชะลอฝีเท้า แต่ก็เดินต่อไป

.

.

หนึ่งนาทีต่อมา เขาได้รับเงินดอลล่าร์แรก จากผู้หญิงคนนึงที่ให้เงินโดยไม่หยุดเดิน แล้วก็เลยจากไป

.

.

ไม่กี่นาทีต่อมาชายคนหนึ่ง เอนหลังพิงกำแพงดูการแสดงของนักไวโอลิน แต่ก็ไม่วายมองนาฬิกาแล้วก็ออกเดินต่อ

.

.

คนที่ตั้งใจดูมากที่สุด ดูจะเป็นเด็กน้อยอายุ 3 ขวบ แต่แม่ก็พยายามบังคับให้หนูน้อยเดินต่อ และดูเหมือนเด็กๆ ทุกคนก็จะชอบดู แต่โดนพ่อแม่ บังคับให้รีบเดินต่อเหมือนกัน

.

.

ตลอดระยะเวลาการแสดง 45 นาที มีคนที่หยุดดู และให้เงินวณิพกเพียง 20 คน เป็นจำนวน 32 ดอลลาร์ จากทั้งหมด 1,100 คน

.

.

เมื่อการแสดงจบลง ความเงียบงันก็เข้าแทนที่ ไม่มีใครรู้ว่าการแสดงจบแล้ว ไม่มีเสียงปรบมือ เหมือนไม่มีใครรับรู้เลยว่าเคยมีการแสดงเกิดขึ้น

.

.

นี่คือเรื่องจริงจากการทดสอบทางสังคมของหนังสือพิมพ์ Washington Post โดยคอลัมนิสต์ Gene Weingarten ที่ได้เชิญ Joshua Bell หนึ่งในนักไวโอลินที่เก่งที่สุดในโลก เขาเล่นไวโอลินให้กับ Philadelphia Orchestra ที่ Riccado Muti เป็นวาทยากรเมื่ออายุเพียง 14 ปี และอีก 4 ปีต่อมาเขาได้เล่นไวโอลินที่ Carnegie Hall ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงดนตรีในสถานที่ที่เป็นสุดยอดของโลก

.

.

นอกจากประวัติแล้ว ผลงานของเขาก็ไม่ธรรมดา อยู่เบื้องหลังงานเพลงในภาพยนตร์ระดับฮอลลีวู้ดมากมายและได้รับรางวัล แกรมมี่มาแล้วในปี 1993 นอกจากนี้เขาคือผู้เล่นไวโอลินในภาพยนตร์ตุ๊กตาทองเรื่อง “The Red Violin”

.

.

เพลงที่เขาเลือกเล่น ก็เพลงที่เป็นบทประพันธ์ที่ยากและไพเราะที่สุดบทหนึ่งของบาค ด้วยไวโอลีน Gibson ex huberman stradivarius of 1713 ซึ่งมีอายุเกือบ 300 ปี ซึ่งถือว่าเป็นไวโอลีนที่ดีที่สุดในโลก

.

.

ด้วยส่วนประกอบทั้งหมดนี้ทำให้ 2 วันก่อนหน้าที่เขาจะมาแสดงในรถไฟฟ้าใต้ดิน บัตรคอนเสิร์ตที่เมืองบอสตันเต็มทุกที่นั่ง ด้วยราคาบัตรเริ่มต้นที่สูงถึง 100 ดอลลาห์ เพลงที่เล่นวันนี้ก็เป็นเพลงเดียวกับในคอนเสิร์ตที่บอสตัน ไวโอลีนก็ตัวเดียวกัน เวลาที่ใช้แสดงก็เท่ากัน ส่วนประกอบทั้งหมดเหมือนกันทุกอย่าง แต่ผลลัพธ์ต่างกันโดยสิ้นเชิง

.

.

ถึงแม้ว่าสินค้าของเราจะมี “จุดซื้อ”อยู่มากมายแต่อย่ามองข้ามการนำเสนอ เพราะเรากำลังทำการสื่อสารกับมนุษย์ผ่านทางการเล่าเรื่องด้วยภาพ เพราะภาพจะส่งผลกระทบต่อทัศนคติ และเป็นทัศนคตินี่เองที่ผลักดันพฤติกรรม

.

.

ไม่จำเป็นว่าเราต้องจ้างช่างภาพราคาแพงมาถ่ายรูปสินค้า แต่แค่มาชี้ช่องทางให้เห็นถึง “วิธีคิด” ที่อยู่ข้างหลังภาพถ่าย ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และมีความสำคัญขนาดไหน? เพื่อจะก่อให้เกิดปัญญา (Wisdom) และนำไปปรับใช้กับสินค้าอย่างยั่งยืน

.

.

เพราะตอนนี้เครื่องมือต่างๆ มีพร้อมอยู่แล้ว…. สิ่งเดียวที่จำกัดเราไว้คือจินตนาการ

.

.

อ้างอิง

https://contrastly.com/product-photography-101

https://.washingtonpost.com/socialexperiment

https://goo.gl/KxjBRs

https://goo.gl/DWxolk

.

.

หมายเหตุ :

1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU

2. ข้อมูล EP.4 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณสิรภพ วรรณ Founder at GolfSirapop Photo มาแชร์เคล็ดลับในหัวข้อ “การถ่ายสินค้าให้สวยงามด้วยสมาร์ทโฟน” เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และลงมือถ่ายภาพสินค้าของตนเองในขณะเรียน ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ #Speaker #DNAbySPU 25 March 2017

.

จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU

http://www.DNAbySPU.com

ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง

.

หลักสูตร DNAbySPU #DNAjournal EP.5 @golfsirapop, คุณกอล์ฟ สิรภพ วรรณทอง Founder of #GolfSirapopPhoto ,ช่างภาพ after wedding party ชื่อดัง , Make product photography as if a communication tool,ให้การภาพถ่ายสินค้าเปรียบเสมือน เครื่องมือการสื่อสาร ,คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม


หลักสูตร DNAbySPU #DNAjournal EP.5 @golfsirapop, คุณกอล์ฟ สิรภพ วรรณทอง Founder of #GolfSirapopPhoto ,ช่างภาพ after wedding party ชื่อดัง , Make product photography as if a communication tool,ให้การภาพถ่ายสินค้าเปรียบเสมือน เครื่องมือการสื่อสาร ,คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุมหลักสูตร DNAbySPU #DNAjournal EP.5 @golfsirapop, คุณกอล์ฟ สิรภพ วรรณทอง Founder of #GolfSirapopPhoto ,ช่างภาพ after wedding party ชื่อดัง , Make product photography as if a communication tool,ให้การภาพถ่ายสินค้าเปรียบเสมือน เครื่องมือการสื่อสาร ,คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุมหลักสูตร DNAbySPU #DNAjournal EP.5 @golfsirapop, คุณกอล์ฟ สิรภพ วรรณทอง Founder of #GolfSirapopPhoto ,ช่างภาพ after wedding party ชื่อดัง , Make product photography as if a communication tool,ให้การภาพถ่ายสินค้าเปรียบเสมือน เครื่องมือการสื่อสาร ,คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น